http://www.phojae-vetclinic.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

บทความน่ารู้

บริการของเรา

ทีมงานของเรา

เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

แผนที่นำทาง

สถิติ

เปิดเว็บ01/06/2011
อัพเดท05/07/2018
ผู้เข้าชม521,545
เปิดเพจ672,666

ประวัติของคลีนิก

เรื่องของเจ้าตูบ

เรื่องทั่วไปที่ไม่ควรมองข้าม

เรื่องของน้องเหมียว

พยาธิเม็ดเลือด..โรคไม่ร้ายแต่ตายได้

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขเป็นโรคที่พบบ่อยและมีผลเสียกระทบกับอวัยวะหลายๆ ส่วนของน้องตูบ อาจทำให้เค้าเสียชีวิตได้ แต่เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างง่ายดาย ตัวเชื้อพยาธิเม็ดเลือดมีอยู่ 3 ตัว ได้แก่ Babesia, Ehrlichia และ Hepatozoon โดย Babesia จะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง ส่วนอีก 2 เชื้ออาศัยอยู่ในเม็ดเลือดขาว

สาเหตุของโรค เกิดจากเห็บที่อยู่บนตัวสุนัข เชื้่อจะแพร่เข้าสู่ร่างกายในขณะที่เห็บดูดกินเลือดน้องตูบ โดย Babesia และ Ehrlichia ในน้ำลายของเห็บจะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ต่างจาก Hepatozoon ที่จะติดต่อโดยการเลียกินเห็บที่ติดเชื้อเข้าไป และใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ในการกระจายสู่อวัยวะต่างๆ และปรากฎอาการให้เจ้าของทราบ

อาการที่พบ

เชื้อโรคที่ได้รับจะแอบแฝงอยู่ในเม็ดเลือด ระยะแรกน้องตูบจะไม่แสดงอาการใดๆ จะแสดงอาการต่อเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะอ่อนแอหรือเครียดมากๆ ทำให้เชื้อโรคเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยจนเม็ดเลือดแตกออกหรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปจากปกติซึ่งจะส่งไปให้ม้ามทำลายทิ้ง เมื่อไม่มีความสมดูลระหว่างการทำลายเม็ดเลือดด้วยม้ามกับการสร้างเม็ดเลือดเพิ่มจากไขกระดูก จึงส่งผลให้เกิด "ภาวะโลหิตจาง"  เจ้าของจะพบว่าน้องตูบมีเหงือกซีดขาว เมื่อโลหิตจางนานวันเข้า จะกระทบต่อหัวใจ ไต มากขึ้น มีอาการเหนื่อยง่่าย และหัวใจวายได้ นอกจากนี้ยังส่งผงให้ผนังหลอดเลือดอักเสบ เกิดเลือดออกง่าย หรือเจ้าของส่วนมากมักพบว่า "เลือดกำเดา" ไหลโดยไม่มีสาเหต

หรืออยู่ๆ ผิวหนังของน้องหมาก็มี "จ้ำเลือด" ปรากฎขึ้นมาเหมือนรอยช้ำแดงทั้งที่ไม่ได้ถูกตี ถ่ายอุจจาระก็อาจจะมีเลือดปน ถ่ายปัสสาวะเป็นสีเข้มเหมือนสีโค้ก นอกจากนี้พยาธิในเม็ดเลือดยังสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน ของร่างกายทำให้เกิดการทำลายของเม็ดเลือดแดง หรือเกล็ดเลือดของตนเองด้วย เรียกว่าเพิ่มความรุนแรงเข้าไปอีกสองเท่าค่ะ

 

 อาการโดยรวม

1. มีไข้สูง
2. ซึม อ่อนแรง ไม่กินอาหาร
3. เหงือกและเยื่อบุนัยน์ตาซีด บ่งบอกถึงโลหิตจาง ต้องตรวจเลือดยืนยัน
4. Capillary refilling time > 2 seconds หรือที่หมอเรียกว่า CRT คือการวัดการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอย ใช้บอกว่ามีเลือดมาหมุนเวียนตามปลายอวัยวะมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง วิธีวัดคือใช้นิ้วมือหนึ่งนิ้วกดที่เหงือกสักครู่ ถอนนิ้วออก สีเหงือกจะคืนมาตรงรอยกดภายใน 1-2 วินาที ถ้านานกว่านั้นแสดงว่าผิดปกติ
5. บางตัวพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนัง โดยเฉพาะหน้าท้อง เมื่อตรวจเลือดพบว่าเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ
6. อาการอาการอื่นๆ ที่พบร่วมก็จะมีดังนี้ค่ะ ตับอักเสบ ม้ามโต ตับโต อาการที่พบได้แต่ไม่บ่อย ได้แก่ อาเจียน ถ่ายเหลว ตัวบวมน้ำร่วมกับอาการท้องมาน อาการทางประสาท เลือดออกในลูกตา เลือดออกในเยื่อตาขาว

 

วิธีการตรวจยืนยัน

1. เสมียร์เลือด วิธีนี้ความไวต่ำ แต่แม่นยำสูง บางครั้งหมาป่วยแต่ตรวจเสียร์เลือดไม่เจอ หรือบางครั้งพบพยาธิเม็ดเลือดแต่ไม่ป่วยก็มี
2. Testkit หมอจะเจาะเลือดแล้วตรวจว่าเคยติดพยาธิเม็ดลือดหรือไม่ หรือยังติดอยู่ วิธีนี้ความไวและความแม่นยำสูง
3. PCR เจาะเลือดไปตรวจ วิธีนี้ความไวและแม่นยำสูงมาก แต่ไม่นิยมเนื่องจากแพงกว่าสองวิธีข้างต้นมากๆ


การรักษาและการป้องกัน

วิธีการรักษาส่วนใหญ่คือ การให้ยาฆ่าพยาธิเม็ดเลือดและการรักษาตามอาการ โดยจะต้องรักษาต่อเนื่อง อย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ ร่วมกับตรวจเลือดเพื่อประเมินค่าเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดเป็นระยะ และต้องติดตามผลต่ออีก 6 เดือน ถึง 1 ปี


การป้องกันพยาธิเม็ดเลือดนั้นจะต้องอาศัยการเอาใจใส่ดูแลจากเจ้าของ โดยการป้องกันการติดเห็บ ปัจจุบันมีหลายวิธีและหลายผลิตภัณฑ์มาให้เลือกตามความเหมาะสม เช่น ตามลักษณะพื้นที่อยู่อาศัยและลักษณะการเลี้ยง เป็นต้น นอกจากนี้ควรตรวจเลือดน้องหมาอย่างน้อยปีละครั้งด้วยค่ะ

 

 

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ปฎิทิน

« June 2023»
SMTWTFS
    123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 

หน้าแรก

บทความน่ารู้

บริการของเรา

ทีมงานของเรา

เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

แผนที่นำทาง

view