http://www.phojae-vetclinic.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

บทความน่ารู้

บริการของเรา

ทีมงานของเรา

เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

แผนที่นำทาง

สถิติ

เปิดเว็บ01/06/2011
อัพเดท05/07/2018
ผู้เข้าชม521,555
เปิดเพจ672,676

ประวัติของคลีนิก

เรื่องของเจ้าตูบ

เรื่องทั่วไปที่ไม่ควรมองข้าม

เรื่องของน้องเหมียว

โรคที่ต้องใช้วัคซีนป้องกัน

โรคที่ต้องใช้วัคซีนป้องกัน

โรคลำไส้อักเสบ

โรคไข้หัดสุนัข

โรคตับอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ

โรคเลปโตสไปโรซีส (ฉี่หนู)

โรคพิษสุนัขบ้า

 

1. โรคลำไส้อักเสบ

โรคลำไส้อักเสบ ติดต่อจากเชื้อไวรัส CVE (Canine Viral Enteriis) เชื้อจะฟักตัวในสุนัข 3-7 วันถึงจะเริ่มแสดงอาการ อาการวันแรกที่แสดงออกคือ ซึม ไม่ทานอาหาร อาเจียน จะเป็นอยู่ 2-3 วัน จากนั้นจะถ่ายเป็นเลือดและไข้สูง

เชื้อไวรัสนี้ คือ พาร์โวไวรัส (รุนแรง), โคโรน่าไวรัส, โรทาร์ไวรัส ซึ่งอาจติดเพียงเชื้อเดียวหรือร่วมกัน ซึ่งจะทำให้มีความรุนแรงของโรคมากขึ้น สุนัขสามารถติดเชื้อนี้ได้จากสิ่งคัดหลั่งจากสุนัขที่เป็นโรค เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย

โรคนี้ไม่มียารักษา แต่ต้องรักษาตามอาการ ได้แก่ ให้น้ำเกลือ ยาบำรุง ยาลดอาเจียน-เคลือบกระเพาะ ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน การรักษามักใช้เวลาโดยเฉลี่ย 5-7 วัน และตัวที่ไม่แข็งแรงมักเสียชีวิตภายใน 3 วันหลังจากถ่ายเป็นเลือด  โรคนี้มักเป็นในสุนัขอายุ 2 เดือน - 1 ปี โดยเฉพาะสุนัขที่ไม่ได้ทำวัคซีนเมื่อถึงกำหนด

2. โรคไข้หัดสุนัข

ไข้หัดสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ก็ทำให้สุนัขแสดงอาการได้ต่างๆ กันไป ทำให้ในบางครั้งการวินิจฉัยหรือเริ่มการรักษาได้ช้า จะพบมากในสุนัขที่ภูมิคุ้มกันของแม่เริ่มน้อยลง โดยปกติเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน จะติดต่อกันโดยการหายใจเอาละอองเชื้อโรคเข้าไป สัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีพอจะส่งผลให้เชื้อเข้าไปทำลายระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ผิวหนัง รวมทั้งระบบประสาท

อาการของโรคที่พบได้ในระยะแรกๆ คือ มีไข้สูง ซึม ไม่ทานอาหาร ท้องเสียแต่จะไม่มากเหมือนลำไส้อักเสบ อาเจียน มีน้ำมูก น้ำตา ซึ่งถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย น้ำมูกน้ำตาจะมีลักษณะเขียวข้น ในบางตัวจะมีอาการตุ่มหนองตามผิวหนัง และถ้าในสุนัขที่เป็นเรื้อรังจะพบว่าฝ่าเท้าจะหนาเป็นแผ่น และเมื่อเชื้่อเข้าสู่ระบบประสาทจะส่งผลให้สุนัขมีอาการทางประสาท เช่น ชัก งับปาก

การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีนเมื่อถึงกำหนด คือประมาณ 2 เดือน ส่วนการรักษายังไม่มีการรักษาใดที่ฆ่าเชื้อไข้หัดสุนัขได้ ทำได้เพียงรักษาตามอาการเพื่อประคองให้สุนัขมีชีวิตอยู่ได้

a

3. โรคตับอักเสบ

โรคตับอักเสบ เกิดจาก Canine Adenovirus-1 พบได้ในสุนัขทุกช่วงอายุ แต่พบได้บ่อยในสุนัขอายุต่ำกว่า 1 ปี เชื้อนี้ติดต่อโดยการกินและสัมผัสโดยตรงกับเชื้อที่ขับออกมากับสิ่งคัดหลั่ง แต่ไม่ติดต่อทางการหายใจ สุนัขที่ป่วยจะมีไข้สูง ปวดท้องรุนแรง อาเจียน และอาจตายภายใน 24 ชั่วโมง ในรายที่เป็นน้อยจะซึม เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องแข็ง  พบสภาพดีซ่านได้

a

4. โรคหลอดลมอักเสบ

เชื้อที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้มีความหลากหลายมาก อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรียหลายชนิดร่วมกัน หรือติดเชื้อชนิดเดียวก็ได้ ตัวอย่าง เช่น Parainfluenza virus, Adenovirus type II, Bordetella bronchiseptica bacteria โดยเชื้อจะเข้าสู่สุนัขทางการหายใจ โรคนี้ไม่มีความรุนแรงนัก แต่สามารถระบาดได้อย่างรวดเร็ว สุนัขมักจะไม่ตายจากโรคนี้ อย่างไรก็ตามแต่ต้องระวัง โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่จะตามมาเนื่องจากภูมิคุ้มกันของสุนัขลดลง เช่น ปอดบวม, โรคไข้หัด ฯลฯ

 

อาการที่พบ คือ ไอแห้ง และลึก อาการขั้นต่อมา เชื้อโรคจะทำให้ไอลึกอย่างรุนแรง และมีน้ำมูก น้ำตาไหลด้วย สุนัขจะแสดงอาการเหมือนมีเศษอะไรติดคอ และพยายามขย้อนออก แต่ไม่มีอะไรออกมา การไอจะไอถี่ และกินเวลานาน

 

การรักษา    เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคนี้มีหลายชนิด ถ้าโรคเกิดจากแบคทีเรีย การรักษาจะได้ผลเมื่อให้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าเกิดจากไวรัส ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผลดี ต้องคอยรักษาตามอาการ จนกระทั่ง ระบบภูมิคุ้มกันของสุนัขสามารถขจัดเชื้อออกไปได้เอง ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์ แต่สัตวแพทย์อาจให้ยาบรรเทาอาการไอ เพื่อลดอาการระคายเคืองที่จะเกิดขึ้น และทำให้สุนัขเงียบลงไปได้บ้าง

 a

5. โรคเลปโตสไปโรซีส (ฉี่หนู)

เกิดจาก Leptospira spp. เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่สัตว์และสัตว์สู่คนด้วย โดยสัตว์ป่วยจะขับเชื้อทางปัสสาวะ รู้จักกันดีในชื่อโรคฉี่หนู โรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะที่ติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อเมือก ทางการกินเนื้อติดเชื้อ ทางระบบสืบพันธุ์ ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบมีเลือดออก ดีซ่านและไตอักเสบ อาจตายเพราะเกิดตับและไตวาย 

a

6. โรคพิษสุนัขบ้า

เกิดจากเชื้อ Rhabdo Virus สัตว์เลือดอุ่นโดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถเป็นโรคนี้ได้ เชื้อนี้จะมีอยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่ป่วย จะติดต่อสัตว์อื่นหรือคนโดยการกัดหรือสัมผัสเยื่อเมือก สัตว์หรือผู้ที่ได้รับเชื้อจะเริ่มแสดงอาการไม่แน่นอน อาจเป็น 1-2 สัปดาห์ เป็นเดือนหรือเป็นปี และเมื่อแสดงอาการแล้วส่วนใหญ่จะตายภายใน 8 วัน และยังพบว่าสัตว์ที่แสดงอาการแล้วสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนตายเป็นเวลา 15 วัน





view

ปฎิทิน

« June 2023»
SMTWTFS
    123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 

หน้าแรก

บทความน่ารู้

บริการของเรา

ทีมงานของเรา

เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

แผนที่นำทาง

view