http://www.phojae-vetclinic.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

บทความน่ารู้

บริการของเรา

ทีมงานของเรา

เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

แผนที่นำทาง

สถิติ

เปิดเว็บ01/06/2011
อัพเดท05/07/2018
ผู้เข้าชม513,418
เปิดเพจ663,452

ประวัติของคลีนิก

เรื่องของเจ้าตูบ

เรื่องทั่วไปที่ไม่ควรมองข้าม

เรื่องของน้องเหมียว

รู้จักกับโรคไข้หัดแมว

รู้จักกับโรคไข้หัดแมว


โรคไข้หัดแมว

ไข้หัดแมว (Cat distemper) จัดว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพาร์โวไวรัส มีผลโดยตรงต่อระบบทางเดินอาหารของแมว แมวที่เป็นโรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง สามารถเกิดได้กับแมวทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากในแมวเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี และในแมวที่ไม่เคยทำวัคซีนหรือทำวัคซีนไม่ครบตามโปรแกรม มักพบการติดต่อของไข้หัดแมวที่ในแหล่งที่มีแมวหนาแน่นในพื้นที่จำกัด

การติดต่อ

เชื้อไวรัสไข้หัดแมวจะติดต่อได้โดยการกินสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อซึ่งมาจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น อุจจาระ น้ำลายจากแมวป่วย หากพบว่ามีแมวป่วยต้องมีการแยกแมวป่วยออกจากแมวตัวอื่นอย่างเด็ดขาด ทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ไม่ให้มีการใช้ของร่วมกัน ผู้ที่สัมผัสแมวป่วยห้ามไปสัมผัสแมวตัวอื่นก่อนการทำความสะอาดมือเด็ดขาด

อาการของโรค

เชื้อไวรัสนี้จะมีระยะฟักตัว 2-7 วัน แมวจะแสดงอาการป่วยใน 3-7 วันหลังจากได้รับเชื้อ แมวป่วยจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสียมีกลิ่นเหม็นคาวผิดปกติ ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ หมดแรง มีแก๊สแหละของเหลวในทางเดินอาหาร แสดงอาการเจ็บเมื่อคลำท้อง ตั่วสั่นหัวตก บางตัวมีอาการตาอักเสบร่วมด้วยหากทำการรักษาไม่ทันจะเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

กรณีติดเชื้อในแม่แมวที่กำลังตั้งท้อง พบว่าเชื้อสามารถผ่านรกติดไปยังลูกแมวในท้องมักทำให้เกิดการแท้งหรือลูกตายในท้อง หากลูกแมวมีชีวิตรอดจนคลอดมักมีอาการทางระบบประสาท ร่างกายอ่อนแอและเสียชีวิตได้


แมวโตที่เคยได้รับเชื้อและร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมารวมทั้งแมวที่ได้รับวัคซีนแล้ว สามารถเป็นพาหะของโรคไปยังแมวเด็กและแมวที่ไม่ได้รับวัคซีนได้

การรักษา

แนวทางการรักษาเป็นการรักษาตามอาหารและประคับประคองให้แมวมีชีวิตรอดได้จนกระทั่งร่างกายของแมวสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต้านโรคได้ โดยการให้น้ำเกลือทดแทนการขาดน้ำ ร่วมกับการฉีดยาป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่มียาที่ฆ่าเชื้อไวรัสได้โดยตรง
   

ในปัจจุบัน มีการให้ยากลุ่ม interferon เพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสร่วมกับการรักษาตามอาการ การฉีด interferon ในแมวที่แสดงอาการป่วยแล้วจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ 10-20% จากการรักษาแบบเดิมเพียงอย่างเดียวและถ้าฉีด interferon ในแมวที่รับเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการพบว่าเพิ่มอัตราการรอดชีวิต 80-90 % แต่วิธีนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูง


การป้องกัน

สามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หัดแมว ซึ่งจะเป็นโปรแกรมสุขภาพ เริ่มต้นที่อายุลูกแมว 2 เดือน และกระตุ้นตามโปรแกรมที่สัตวแพทย์แนะนำ


ถ้าหากแมวที่เราเลี้ยงยังได้รับวัคซีนไม่ครบถือว่ามีความเสี่ยง ไม่ควรนำไปเลี้ยงรวมกับตัวอื่น เจ้าของควรทำความสะอาดมือให้เรียบร้อยก่อนที่จะสัมผัสกับแมวที่มีความเสี่ยง








view

ปฎิทิน

« March 2023»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

หน้าแรก

บทความน่ารู้

บริการของเรา

ทีมงานของเรา

เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

แผนที่นำทาง

view