โรคพยาธิหนอนหัวใจเป็นโรคที่เกิดได้กับสุนัขทุกสายพันธุ์และทุกช่วงอายุ โดยส่วนใหญ่มักพบในสุนัขอายุประมาณ 3-6 ปี โรคนี้สามารถติดต่อผ่านทางการโดนยุงทุกชนิดกัด เมื่อสุนัขโดนยุงตัวที่มีตัวอ่อนหนอนพยาธิหัวใจกัด ก็จะถ่ายทอดตัวอ่อนสู่สุนัขตัวที่ไม่เป็นโรค แล้วตัวอ่อนก็จะไปเจริญเติบโตอยู่ในสุนัขตัวนั้นแล้วกลายเป็นตัวแก่ เมื่อมีการสืบพันธุ์ก็จะผลิตตัวอ่อนออกมาอยู่ในกระแสเลือดของสุนัขและต้องอาศัยยุงเป็นตัวกลางที่จะทำให้วงจรการเจริญเติบโตของพยาธิหนอนหัวใจเป็นตัวแก่ได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้วตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจสามารถติดต่อผ่านจากแม่สู่ลูกได้ แต่ตัวอ่อนนั้นก็ต้องอาศัยยุงเป็นตัวกลางในการเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ด้วยเช่นกัน
ฟ
ความรุนแรงของโรคนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนพยาธิหนอนหัวใจตัวแก่เนื่องจากตัวแก่จะไปอาศัยอยู่ในห้องหัวใจและหลอดเลือดที่ไปยังปอด หากมีจำนวนมากขึ้นจะไปอุดตันอยู่ตามห้องหัวใจและหลอดเลือดนั้นๆ ส่งผลให้ปอดอักเสบและหัวใจล้มเหลวได้
ฟ
อาการสามารถพบได้หลากหลายโดยแบ่งได้เป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ
ระดับที่ 1 มักไม่ค่อยแสดงอาการ ไอเป็นครั้งคราว
ผลตรวจเลือดและเอ็กซเรย์ยังเป็นปกติ
ระดับที่ 2 มีอาการอ่อนเพลียขณะวิ่ง อาจไอเป็นครั้งคราว ผลเลือด
มักพบโลหิตจางเล็กน้อย อาจพบการขยายขนาดของหัวใจ
ระดับที่ 3 ขั้นรุนแรง สุนัขจะอ่อนเพลียแม้ในภาวะปกติ ไอตลอด หาย
ใจลำบาก โลหิตจางมากขึ้น พบการขยายขนาดหลอดเลือด
จากหัวใจไปปอด สภาพเนื้อปอดผิดปกติ
ระดับที่ 4 ขั้นรุนแรงมาก อัตราการเต้นและเสียงของหัวใจผิดปกติ มี
ภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย ตับและไตล้มเหลว
ฟ
การรักษานั้นจะขึ้นกับระยะที่เป็นตามการวินิจฉัยของสัตวแพทย์
ฟ
การป้องกัน
สามารถทำได้ง่ายเพียงการฉีดหรือหยอดยาฆ่าตัวอ่อนเป็นประจำทุกเดือนตั้งแต่สุนัขเด็กไปจนตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง และควรใช้ยาที่ได้รับการรับรองว่าสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในสัตว์ซึ่งควรปรึกษาสัตวแพทย์